วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เปรียบเทียบเศรษฐกิจการเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ ต.ปากพนังฝั่งตะวันออก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

ที่มาและความสำคัญ

เนื่องจากกุ้งกุลาดำราคาค่อนข้างดีมาก จึงทำให้เกษตรกรหันมาลงทุน  ทำนากุ้งกันมาก  ผลผลิตที่ได้ในช่วงเลี้ยงหนึ่งๆ จะเป็นตัววัดว่าคนเลี้ยงมีกำไรหรือขาดทุน แต่ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับราคากุ้งในช่วงนั้นด้วย  เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะต้องเสี่ยงกับการเจริญเติบโตของกุ้ง  โรคกุ้งและที่สำคัญคือ ต้องเสี่ยงกับราคากุ้งที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ต่างๆของโลก ทำให้ประสบปัญหาการขาดทุน  เลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก จากผลกระทบจากการทำนากุ้ง  ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม  ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเปรียบเทียบเศรษฐกิจการเลี้ยงกุ้งกุลาดำและกุ้งขาว ต.ปากพนังฝั่งตะวันออก     อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดการ  และเศรษฐกิจการเลี้ยงกุ้งกุลาดำและกุ้งขาว 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง




 กุ้งขาวแปซิฟิก (Litopenaeus vannamei) 

  เป็นกุ้งพื้นเมืองในทวีปอเมริกาใต้ พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก  เนื่องจากกุ้งขาวแปซิฟิกที่เกษตรกรในประเทศไทยนิยมเรียกว่า กุ้งขาวแวนนาไม  เป็นกุ้งที่เลี้ยงง่าย  มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว     กุ้งชนิดนี้ได้มีการนำเข้ามาเลี้ยงในทวีปเอเชีย ครั้งแรกในประเทศไต้หวันปี พ.ศ. 2539  ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในประเทศไทยกำลังประสบปัญหากุ้งโตช้าทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่   ประสบปัญหาขาดทุนในขณะเดียวกันเกษตรกรบางส่วนได้ทดลองเลี้ยงกุ้งขาว ซึ่งส่วนใหญ่ให้ผลค่อนข้างดี  จากกระแสการเลี้ยงกุ้งขาวที่ได้ผลดีกว่ากุ้งกุลาดำ  ทำให้เกษตรกรจำนวนมากหันมาเลี้ยงกุ้งขาวกันมากขึ้น มีลักษณะโดยทั่วไป มีหนวดสีแดง ลำตัวสีขาวอมชมพู และมีเปลือกบาง


   

 กุ้งกุลาดำ  (Penaeus monodon)

มีอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย ในประเทศไทยพบแพร่กระจายทั่วไปในอ่าวไทย แต่จะพบมากบริเวณเกาะช้างบริเวณนอกฝั่งของจังหวัดชุมพร ถึงนครศรีธรรมราชและทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย บริเวณนอกฝั่งของจังหวัดภูเก็ต และระนอง ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีพื้นดิน  เป็นทรายปนโคลนกุ้งกุลาดำมีลำตัวสีแดงอมน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มมีลายพาดขวางด้านหลัง  และมีสีออกน้ำตาลเข้มข้างแถบสีขาว  และขาว่ายน้ำมีขนสีแดง


ขั้นตอนการทำโครงงาน

18 กุมภาพันธ์ 2554 : ขั้นที่ 1 

ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำนากุ้ง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร อินเทอร์เน็ต ฯลฯ       

25 พฤษภาคม 2554 : ขั้นที่ 2 

สัมภาษณ์เกษตรกรที่มีอาชีพทำนากุ้ง โดยมีประเด็นคำถามเกี่ยวกับ    การตัดสินใจในการประกอบอาชีพทำนากุ้งประสบการณ์ทำนากุ้ง ข้อมูลเกี่ยวกับการทำนากุ้ง ความรู้เกี่ยวกับการทำนากุ้ง ตลาดและการจัดจำหน่าย รวมทั้งต้นทุนและผลตอบแทนจาก การทำนากุ้ง      

21 สิงหาคม 2554 : ขั้นที่ 3 

นำข้อมูลทางเศรษฐกิจของเกษตรกรแต่ละรายมาวิเคราะห์ในรูปแบบตาราง เพื่อเปรียบเทียบว่าการจัดการการเลี้ยงกุ้งแตกต่างกันอย่างไรและ มีผลต่อผลผลิตและรายได้อย่างไร เปรียบเทียบต้นทุนและรายได้ ของเกษตรกรแต่ละราย  เริ่มตั้งแต่วิธีการเตรียมบ่อ การใช้พลาสติกรองบ่อ การใช้เชือกกันนก การลงกุ้ง ขนาดของกุ้ง การให้อาหาร การดูแลรักษา




การคัดแยกกุ้ง


             4 กันยายน 2555 : ขั้นที่ 4 ทำ Blog โดยการหาเนื้อหาประกอบโครงงาน







5 กันยายน 2555 : ขั้นที่ 5


จัดทำวิดีโอและ PowerPoint ประกอบโครงงาน










6 กันยายน  2555 : ขั้นที่ 7   


จัดทำโปรแกรม Komodo ในการคิดคำนวณ





    

6 กันยายน  2555 :  ขั้นที่ 8


รวบรวมเนื้อหาทั้งหมด  จัดทำโครงงานลงใน Blog อย่างสมบูรณ์ และส่ง Blog






ประโยชน์ที่ได้รับ


- ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานการประกอบอาชีพเกษตรกรรมผู้เลี้ยงกุ้ง
- ทำให้ทราบสถานการณ์การผลิต  การรับซื้อกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ
- ทำให้ทราบปัญหาและอุปสรรค เพื่อเป็นข้อมูลแนวทางในการกำหนดนโยบาย และมาตรการ
  ในการส่งเสริม และพัฒนาการผลิต การตลาด กุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ


ผลการศึกษา

ต้นทุนและรายได้ของเกษตรกร

       สำหรับต้นทุนของเกษตรกร  พบว่า  มี 2 ประเภท คือ  ต้นทุนคงที่  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าขุดบ่อ 15,000  บาท/ไร่  และต้นทุนแปรผัน ส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร สำหรับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวมีต้นทุนและรายได้ที่แตกต่างกัน เพราะกุ้งกุลาดำใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง  ที่นานกว่ากุ้งขาวโดยกุ้งขาวแต่ละรอบ ใช้เวลาเลี้ยง ประมาณ 3.5 เดือน ส่วนกุ้งกุลาดำ  ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4.5 เดือน แต่กุ้งกุลาดำใช้ปริมาณอาหารที่น้อยกว่า จึงเป็นผลให้กุ้งขาว  มีต้นทุนในการเลี้ยงมากกว่า แต่ราคาของกุ้งขาวดีกว่าและมีตลาดรองรับ  ทั้งเนื่องจาก ตลาดรับซื้อต่างประเทศได้เคยตรวจพบสารตกค้าง จึงระงับการสั่งซื้อกุ้งกุลาดำ จากประเทศไทย จึงเป็นผลให้เกษตรกรไม่นิยมเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และหันมาเลี้ยงกุ้งขาวกันอย่างแพร่หลาย





 

ทดลองใช้งานโปรแกรม


calculate Profitability of Shrimp

Enter cost of shrimp(bath)

Output Here :

Output Here :

วิธีการใช้งานโปรแกรม


   โปรแกรมการคำนวณคกำไรของกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ เพื่อใช้คำนวณกำไรในการเลี้ยง

กุ้งกุลาดำและกุ้งขาว  สามารถคำนวณได้โดย


1.ใส่จำนวนเงินในการลงทุนใน Enter cost of shrimp

2.กดปุ่ม Calculate และรอดูค่าด้านล่างได้เลย



โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับ Google Chorme,Firefox ,Safari
ไฟล์นำเสนอ Power point
รูปเล่มโครงงาน



 วีดีโอนำเสนอโครงงาน



กลุ่ม Shrimpy





คณะผู้จัดทำ


น.ส.ทักษพร  ภู่พรหมินทร์             น.ส.สุคันธา  คำพุฒจันทร์                         น.ส.อนัญญา  รมยานนท์    

          เลขที่ 9                                         เลขที่ 18                                              เลขที่ 19



นักเรียนชั้้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 601





อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ : อ.มนต์ตรา ไกรนรา
อาจารย์ที่ปรึกษาคอมพิวเตอร์ : อ.จิรัฎฐ์  พงษ์ทองเมือง



โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

Princess Chulabhorn's College,Nakhon Si Thammarat
Chulabhorn  Science High  School)


ขอบคุณ แหล่งข้อมูลประกอบการทำโครงงาน


   - นงนุช  ตั้งเกริกโอฬาร.  สัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง. 2551. หน้า  80 – 86.
    การทำนากุ้ง [Online]. Available at 
  - (http://plantpro.doae.go.th/diseasegroup/tang/tristaza/tang_tristeza.htm).
  - [Online].Available at  (http://kasetinfo.arda.or.th/south/shrimp/controller/01-06.php).
  - สภาพภูมิประเทศอำเภอปากพนัง. [Online].Available at (http://wikipedia.org/wiki/).
  - [Online]. Available at  (http://www.thaitambon.com/tambon/).







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น